อาการปวดหลังที่เกิดจากการทำงาน เป็นปัญหาสุขภาพของคนวัยทำงานส่วนใหญ่และยังเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ นอกจากอาการปวดหลังแล้วการนั่ง เก้าอี้ทำงาน เป็นประจำและนั่งต่อเนื่องเป็นเวลานานโดยไม่ลุกเดิน หรือไม่ปรับเปลี่ยนอิริยาบถอาจทำให้มีอาการปวดเรื้อรังและกลายเป็นปัญหาสุขภาพที่ยากต่อการรักษา อาการปวดหลังจากการนั่งทำงานเกิดจากอะไร การเลือกเก้าอี้ทำงานช่วยป้องกันได้หรือไม่ บทความนี้มีคำตอบ
ภาพประกอบจาก pinteres
อาการปวดหลัง คือปัญหาสุขภาพที่พบได้ตั้งแต่คนวัยหนุ่มสาว คนทำงาน จนถึงผู้สูงอายุและพบได้บ่อยหรือพบได้มากในกลุ่มคนวัยทำงาน สาเหตุของอาการปวดหลังในกลุ่มคนวัยทำงานแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ ได้แก่
อาการปวดที่เกิดจากการใช้กล้ามเนื้อหลังมากกว่าปกติ ส่วนใหญ่เป็นงานที่ต้องใช้แรง ไม่ได้เกิดจากการนั่งเก้าอี้ทำงานเป็นเวลานาน ๆ ลักษณะการทำงาน เช่น การก้ม ๆ เงย ๆการก้มทำงานในท่าที่ไม่สะดวกสบาย ยกของหนักเกินกำลัง หรือเกิดจากการบิดหมุนตัวซ้ำ ๆ อย่างรวดเร็วปัญหาสุขภาพที่เกิดจากอาการปวดเอวในลักษณะนี้ มีผลทำให้เกิการบาดเจ็บกล้ามเนื้อหลังเอ็นยึดข้อต่อกระดูกสันหลัง อาจรุนแรงถึงหมอนรองกระดูกสันหลังระดับเอวฉีกขาดได้ อาการปวดจะรู้สึกปวดมากบริเวณเอวส่วนล่าง อาจร้าวไปถึงสะโพก และหากเกิดอาการบาดเจ็บรุนแรงจนมีการฉีกขาดของหมอนรองกระดูกสันหลัง แล้วเคลื่อนไปกดเบียดทับเส้นประสาท
อาการปวดเอวในลักษณะนี้พบได้มากในคนที่ต้องนั่งทำงานอยู่ในออฟฟิศ นั่งเก้าอี้ทำงาน เป็นเวลานาน ๆ นั่งทำงานบนเก้าอี้ที่ไม่มีพนักพิงหลังอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานหรือการทำงานในลักษณะที่ต้องนั่งเอื้อมมือยืดแขนทำงาน จะทำให้ปวดในตำแหน่งกลางแผ่นหลังแบบปวดทั่วๆ ทั้งหลัง เนื่องจากกล้ามเนื้อหลังต้องพยายามดึงลำตัวให้ยืดตรงตลอดเวลา จนเกิดอาการเมื่อยล้า
ปัจจุบันคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์สำนักงานที่สำคัญและจำเป็น บางธุรกิจมีเพียงคอมพิวเตอร์และโต๊ะคอมพิวเตอร์เท่านั้น ก็สามารถสร้างธุรกิจให้ประสบความสำเร็จมีรายได้สร้างอาชีพที่มั่นคงให้กับตนเองได้แต่การนั่งเก้าอี้ทำงานอยู่หน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ๆ ก็อาจทำให้มีอาการปวดกล้ามเนื้อหลังส่วนบนปวดบ่า ปวดสะบัก และต้นคอ เนื่องจากการทำงานต้องก้มคอ ยืดคอ หรือเกร็งคอเป็นเวลานาน
ภาพประกอบจาก pinteres
วิธีป้องกันอาการปวดหลัง และการรักษาอาการปวดหลังจากการทำงานสิ่งแรกต้องศึกษาให้รู้ถึงสาเหตุหรือปัจจัยเสี่ยงก่อนว่ามีอะไรบ้าง เมื่อทราบว่าตนเองมีปัจจัยเสี่ยงด้านใดก็จะสามารถป้องกันตนเองได้ถูกวิธี เช่น
1. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดวิธีการการทำงานที่ไม่ถูกต้อง หรืออาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บ หลีกเลี่ยงท่าการทำงานที่อาจทำให้เกิดการปวดเมื่อยเป็นเวลานานติดต่อกัน
2. กรณีมีอาการปวดเอวที่เกิดจากการนั่งทำงานนาน ๆ หรือนั่งในท่าที่ไม่ถูกต้อง วิธีป้องกันที่ได้ผลดีก็คือการเลือกซื้อเก้าอี้ทำงานเพื่อสุขภาพที่ออกแบบมาเพื่อดูแลสุขภาพของคนที่ต้องนั่งทำงานอยู่หน้าคอมพิวเตอร์หรือนั่งทำงานอยู่กับโต๊ะเป็นเวลานาน ๆ
3. เมื่อต้องนั่งทำงานอยู่หน้าคอมพิวเตอร์หรือนั่งอยู่ในออฟฟิศตลอดทั้งวัน ควรปรับเปลี่ยนอิริยาบถบ่อย ๆ โดยการลุกเดิน หรือขยับแขน ขา เพื่อให้กล้ามเนื้อได้ผ่อนคลาย และยังได้พักสายตาจากจอคอมพิวเตอร์หรือพักสายจากงานเอกสารต่าง ๆ
4. การใช้ยาทาภายนอก เพื่อลดอาการปวด
5. การประคบถุงน้ำร้อนบริเวณที่ปวด หรือ การนวดแผนไทย
6. การทำกายภาพบำบัด หรือใช้การรักษาแบบแพทย์ทางเลือก เช่น การฝังเข็ม
7. รักษาทางยา เพื่อลดอาการปวด ซึ่งมีตั้งแต่การรับประทานยากลุ่มลดปวดทั่วไป ยาลดปวดรุนแรงยาคลายกล้ามเนื้อ ยาต้านการอักเสบ
8. กรณีมีอาการปวดที่รุนแรง การรักษาโดยแพทย์อาจรักษาแบบประคับประคองอาการ เพื่อที่จะช่วยให้ผู้ป่วยบรรเทาจากอาการปวดหลัง และสามารถกลับไปทำงานได้ในระยะเวลาอันสั้น
9. หากอาการปวดไม่ทุเราและมีอาการปวดที่รุนแรงมากขึ้น และมีความจำเป็นต้องทำการตรวจซ้ำโดยแพทย์เฉพาะทางด้านกระดูก แพทย์จะทำการตรวจเพิ่มเติมเพื่อวินิจฉัยโรค อาทิการตรวจเอ็กซ์เรย์กระดูกสันหลัง การตรวจเอ็กซ์เรย์คลื่นแม่เหล็ก หรือตรวจเลือดเพื่อหาสาเหตุอื่น ๆ ต่อไป
ภาพประกอบจาก pinteres
เก้าอี้สุขภาพเป็นนวัตกรรมเก้าอี้ทำงานที่ถูกออกแบบมาเพื่อดูแลสุขภาพของคนที่ต้องนั่งทำงานอยู่ในออฟฟิศด้วยการออกแบบตามหลักการยศาสตร์ โดยส่วนประกอบที่ช่วยลดอาการปวดหลังมี ดังนี้
1. ออกแบบพนักพิงหลังช่วงล่าง เพื่อช่วยรองรับกระดูกสันหลังไม่ให้เกิดการโค้งงอ
2. ออกแบบที่พักแขนเพื่อช่วยลดอาการปวดหลัง จากการกระจายน้ำหนักตัวไปที่หลัง
3. ออกแบบเพื่อช่วยลดอาการปวดไหล่ จากการกระจายน้ำหนักกล้ามเนื้อบริเวณสะบักและต้นแขน
4. ออกแบบพนักพิงบริเวณคอ ให้สามารถปรับองศาที่รองคอได้ เพื่อช่วยลดอาการปวดบริเวณต้นคอ
5. ออกแบบความสูงของเก้าอี้ทำงาน ให้สามารถปรับได้ตามสรีระของผู้ใช้งาน
ภาพประกอบจาก pinteres
ทราบแล้วนะครับ อาการปวดหลังจากการนั่งทำงาน เกิดจากอะไร มีวิธีป้องกันและรักษาหรือไม่อย่างไร การดูแลสุขภาพต้องเริ่มต้นจากตัวเรา และการป้องกันย่อมดีกว่าแก้ไขการเลือกซื้อเก้าอี้ทำงานเพื่อสุขภาพหรือเลือกเก้าอี้ทำงานไม่ปวดหลัง เป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด
?
สอบถามข้อมูล หรือแอดไลน์ @rockyfurniture เพื่อความสะดวกและรวดเร็ว
ทำรายการแทนลูกค้า
สมัครสมาชิกแทนลูกค้า